Tuesday, October 18, 2016

การเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อซีเมนต์ เป็นรายได้เสริม ตอนที่ 4

การเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อซีเมนต์ เป็นรายได้เสริม ตอนที่ 4

อย่างที่บอกไปว่า กุ้งฝอย เป็นสัตว์น้ำจืดขนาดเล็ก สามารถพบได้ทั่วไปในภูมิภาคของไทย
และเป็นที่นิยมบริโภคหรือกินกันทั่วไป เพราะนำมาประกอบเป็นอาหารเช่น กุ้งเต้น ทอดมันกุ้ง กุ้งฝอยทอด
โดยกุ้งฝอยมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งโปรตีนและแคลเซียม
ในปัจจุบันนี้กุ้งฝอยเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากการเสื่อมโทรม และความไม่สมบูรณ์ของแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
หรือบางครั้งก็มีการใช้กุ้งฝอยเป็นอาหารเลี้ยงอนุบาลลูกปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลาบู่ ปลาช่อน ปลากราย และปลาสวยงาม
จึงทำให้เกิดความไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดที่มีแนวโน้มสูงมากขึ้น
จึงทำให้หลายๆคน สนใจทำ การเกษตร หรือ การประมง ชนิดนี้ นั้นคือเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อซีเมนต์
ว่าแล้วก็มาดูกันเลยครับ

วิธีเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อซีเมนต์
การเพาะเลี้ยง
เริ่มต้นจากการรวบรวมกุ้งเพศเมียจากแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวนประมาณ 80-100 ตัว นำมาพักไว้ในกระชังอย่างน้อย 1 คืน
คัดเลือกเฉพาะกุ้งเพศเมียที่มีไข่แก่ มองเห็นตาของลูกกุ้งในท้อง เพาะฟักในตะแกรงที่แขวนไว้ในกระชังผ้า ขนาด 1x1x1 เมตร ในบ่อซีเมนต์หรือบ่อดิน
ให้อาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีน 33% ให้อาหารประมาณ 5% ของน้ำหนักตัว แบ่งให้ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ประมาณ 3-4 วัน ไข่จะฟักออกมาเป็นตัว
แยกแม่กุ้งออกจากกระชัง แล้วคัดลูกกุ้งที่มีขนาดเดียวกัน เพื่อสะดวกในการจัดการเพาะเลี้ยง
นำลูกกุ้งที่ได้ไปอนุบาลในกระชังผ้าโอล่อนแก้ว ปริมาณ 50,000 ตัว ในบ่อขนาด 1x1x1 เมตร
สัปดาห์แรก ให้ไข่แดงต้มสุกเป็นอาหาร สัปดาห์ที่ 2-4 ใช้ไรน้ำจืดขนาดเล็กเป็นอาหาร
จากนั้นจึงให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง เป็นอาหารที่มีโปรตีน 40% ให้อาหารในปริมาณ 10% ของน้ำหนักตัว
*** ระยะนี้ต้องระมัดระวังตาข่ายไม่ให้อุดตัน ควรใช้แปรงขนาดเล็กขนอ่อนทำความสะอาดบ่อยครั้ง
ใช้เวลาอนุบาลเป็นเวลา 1 เดือน จึงนำไปเลี้ยงในกระชังหรือบ่อซีเมนต์ได้

การเตรียมบ่อ
ทำความสะอาดบ่อด้วยปูนขาว ตากทิ้งไว้ 2-3 สัปดาห์ กั้นคอกล้อมบ่อด้วยอวนพลาสติคสีฟ้าเพื่อป้องกันศัตรู
เติมน้ำในบ่อโดยผ่านการกรองด้วยผ้าตาถี่ เพื่อป้องกันไข่ปลาและลูกปลาขนาดเล็กๆ เล็ดลอดลงในบ่อกุ้ง
เติมน้ำสูงประมาณ 40-50 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยขี้ไก่ อัตรา 60-120 กิโลกรัม ต่อไร่ ทิ้งไว้ 3-4 วัน
รอจนน้ำเริ่มสีเขียว จึงเติมน้ำจนได้ระดับ 1 เมตร จากนั้นจึงนำลูกกุ้งที่อนุบาลมาแล้วประมาณ 1 เดือน
ปล่อยลงในบ่อ อัตรา 30,000-50,000 ตัว เลี้ยงประมาณ 2 เดือน ก็สามารถจับขายได้ มีอัตรารอด 80%
ที่สำคัญการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ควรช่วยการหายใจด้วยระบบการเติมออกซิเจนด้วย

เทคนิคการเร่งกุ้งให้วางไข่
ให้นำสายยางน้ำประปามาเปิดลงในบ่อ โดยการเปิดแรงๆ ประมาณ 10-20 นาที
เพราะกุ้งชอบเล่นน้ำไหล แล้วจะดีดตัวทำให้ไข่ตกลงมา (ธรรมชาติน้ำนิ่งกุ้งไม่วางไข่)
ประมาณ 1-2 เดือน กุ้งก็จะโตเต็มที่ ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 4 เดือน
จะได้กุ้งประมาณ 20-30 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 100-200 บาท

การเลี้ยงกุ้งฝอยในกระชังผ้ามุ้ง เป็นรายได้เสริม ตอนที่ 3

การเลี้ยงกุ้งฝอยในกระชังผ้ามุ้ง เป็นรายได้เสริม ตอนที่ 3

การเลี้ยงกุ้งฝอยในกระชังผ้
ามุ้ง
จากปัจจัยที่เห็นว่าปัจจุบันปริมาณกุ้งฝอยในแหล่งน้ำธรรมชาติลดน้อยลง และมีราคาแพง
ทำให้ ดร.บัญชา ทองมี อาจารย์ประจำคณะประมงและทรั
พยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
ทำการศึกษาวิจัย การเลี้ยงกุ
้งฝอยในเชิงการค้า ปรากฏว่าประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี สามารถที่จะเผยแพร่แก่เกษตรกรนำไปเพาะเลี้ยงเป็นอา
ชีพได้
ดร.บัญชา บอกว่า ปัจจุบันกุ้งฝอยเริ่มมีปริมาณลดน้อยลง และราคาแพงขึ้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงได้ศึกษาวิจัย
การเลี้ยงกุ้งฝอยในเชิงการค้า เนื่องจากมองว่ากุ้งฝอยนั้น ยังเป็นที่นิยมบริโภคของคนไทย เพราะสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารหลายอย่าง
และจากนี้ยังสามารถนำไปเป็นอาหารเลี้ยงอนุบาลลูกปลาเศรษฐกิจได้อีกด้วย จึงว่าน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพได้
ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จนประสบผลสำเร็จ
สามารถเผยแพร่แก่เกษตรกรนำไปเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพได้
- ดร.บัญชาบอกอีกว่า การเลี้ยงได้ 2 วิธี คือ การนำพ่อแม่พันธุ์กุ้ง 50 ตัว
ปล่อยลงในกระชังภายในบ่อเลี้ยงเพื่อให้พ่อแม่พันธุ์กุ้งฝอยผสม พันธุ์กันเอง วิธีนี้ใช้เวลา 2-3 เดือน
แต่จะมีอัตราการรอดชีวิตประมาณ 20-30% อีกวิธีหนึ่งคือ การคัดแม่พันธุ์ที่มีไข่แล้วมาขยายพันธุ์
มีอัตราการรอดชีวิต 80% จึงขอแนะนำเกษตรกรใช้วิธีนี้ เนื่องจากจะได้กุ้งฝอยที่มีขนาดเดียวกัน
การปฏิบัติดูแลรักษาง่าย สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและบ่อซีเมนต์ การลงทุนต่ำ สามารถเพาะเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี
- สำหรับการเลี้ยงนั้นเริ่มจากการรวบรวมกุ้งเพศเมียจากแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวน 80-100 ตัว แม่กุ้ง 1 ตัวมีไข่ได้ 200-250 ตัว
นำมาพักไว้ในกระชังผ้าขนาด 1x1x1 เมตร อย่างน้อย 1 คืน คัดเลือกเฉพาะกุ้งเพศเมียที่มีไข่แก่ ให้อาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีน 33%
ให้อาหารประมาณ 5% ของน้ำหนักตัว แบ่งให้ 2 ครั้งเช้าและเย็น ราว 3-4 วัน ไข่จะฟักออกมาเป็นตัว
จากนั้นแยกแม่กุ้งออกจากกระชัง แล้วคัดลูกกุ้งที่มีขนาดเดียวกัน เพื่อสะดวกในการจัดการเพาะเลี้ยง
นำลูกกุ้งที่ได้ไปอนุบาลในกระชังผ้าโอล่อนแก้ว ลูกกุ้งจะได้ 5 หมื่นตัว อาทิตย์แรกให้ไข่แดงต้มสุกเป็นอาหาร
อาทิตย์ที่ 2-4 ใช้ไรน้ำจืดขนาดเล็กเป็นอาหาร จากนั้นจึงให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง เป็นอาหารที่มีโปรตีน 40%
ให้อาหารในปริมาณ 10% ของน้ำหนักตัว ใช้เวลาอนุบาลเป็นเวลา 1 เดือน
จึงนำไปเลี้ยงในกระชังในบ่อดินหรือบ่อซีเมนต์ได้ 3-5 หมื่นตัว เลี้ยงอีก 2 เดือนสามารถขายได้

การเลี้ยงกุ้งฝอย หาเงินง่ายๆสไตล์ ครูชาตรี การเลี้ยงกุ้งฝอยเป็นรายได้เสริม ตอนที่ 2

การเลี้ยงกุ้งฝอยเป็นรายได้เสริม ตอนที่ 2



การเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อดิน
"กุ้งฝอย แต่เดิมนั้นพบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำต่าง ๆ แต่เนื่องจากสภาพ แวดล้อมที่เสื่อมโทรม
มีการสะสมของสารพิษ เกิดการตื้นเขินและถูกบุกรุกทำลาย เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างอื่น
จึงทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยของกุ้งฝอยในธรรมชาติลดน้อยลง แต่ขณะที่ความต้องการกุ้งฝอยเพื่อการบริโภคมีมาก
จึงทำให้ ราคากุ้งฝอยที่จำหน่ายในท้องตลาดสูงขึ้นมาก อย่างที่ขายกันในภาคอีสาน นั้น แต่ก่อนนี้เพียงกิโลกรัมละ 35-50 บาท
แต่ตอนนี้ขึ้นมาถึง 160-200 บาท"
สำหรับการเลี้ยงกุ้งฝอย ควรเป็นบ่อขนาด 1 งาน หรือประมาณ 0.5 ไร่
ถ้าขนาดใหญ่เกินไปจะทำให้ดูแลได้ไม่ทั่วถึง ความลึกของบ่อประมาณ 1.5 เมตร เติมน้ำสูง ประมาณ 1 เมตร
แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ การป้องกันศัตรู ดังนั้น บริเวณบ่อต้องให้โล่งเตียน เพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของ กบ เขียด งู
ที่จะมาลงกินกุ้งฝอยในบ่อเลี้ยง นอกจากนี้ ในบ่อเลี้ยงต้องมีการกำจัดปลาที่เป็นศัตรูอย่าง ปลาช่อน ปลาดุกด้วย
" พวกนี้จัดเป็นศัตรูของกุ้งฝอยมาก สำคัญ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการหาทางป้องกันไว้ "
โดยที่ปฏิบัติอยู่เราจะล้อมรอบบ่อเลี้ยงด้วยไนลอนเขียวตาถี่ ๆ ด้วย และในการป้องกันกำจัดศัตรูที่อยู่ในน้ำ
เราจะใช้พวกกากชา หางไหล ใส่ทิ้งไว้ 3 -5 วัน"

ในการเตรียมบ่อเลี้ยง

- ให้เริ่มจากหว่านปุ๋ยคอกจำนวน 150-200 กิโลกรัม หว่านรำละเอียด 30 กิโลกรัม
แล้วใส่น้ำสูง 30-50 เซนติเมตร เมื่อเกิดไรแดงและโรติเฟอร์จำนวนมาก
สีน้ำเริ่มเขียวให้นำพ่อแม่พันธุ์กุ้งฝอยใส่ลงไปจำนวน 4-5 กิโลกรัม
สำหรับพ่อแม่พันธุ์กุ้งฝอยที่นำมาใส่บ่อเลี้ยง ควรคัดที่มีขนาดใหญ่ และขนาดใกล้เคียงกัน
โดยสามารถคัดได้ทุกฤดูกาล ยิ่งในช่วงฤดูร้อนยิ่งดีมาก กุ้งฝอยจะขยายพันธุ์ได้เร็วในช่วงฤดูฝน
"กุ้งฝอยจะผสมพันธุ์ภายใน โดยเพศเมียจะมีไข่ขนาดเล็ก ๆ อยู่ในหัวและเมื่อได้รับการผสมแล้ว
จะเคลื่อนที่มาอยู่บริเวณท้อง จนกว่าไข่จะแก่ เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ถ้าไข่สีเขียวเข้มจนเป็นสีเทาแสดงว่าไข่แก่ เมื่อน้ำมีสภาพดี
โดยเฉพาะถ้าเป็นน้ำขุ่นจะเจริญเติบโตดีมากกว่าน้ำใส ซึ่งในกรณีของน้ำที่ใช้เลี้ยงนี้
กำลังอยู่ระหว่างช่วงการศึกษาเกี่ยวกับความขุ่นของน้ำที่มีผลต่อการเจริญ เติบโตของกุ้งฝอยว่า ควรเป็นเท่าใด
และกุ้งฝอยจะชอบน้ำมีสีเขียวที่มีแพลงก์ตอนพืชและไรแดง จะชอบมากและวางไข่ ลูกกุ้งจะลอยน้ำในแนวดิ่ง"อาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้งฝอย
ใช้รำละเอียดและปลาป่น อัตรา 3 ต่อ 1 โดยจากการศึกษาในตู้เพาะเลี้ยงพบว่า สามารถให้ผลผลิตกุ้งฝอยได้ดี และมีปริมาณผลผลิตมาก รวมทั้งมีการใส่ปุ๋ยคอกเสริมบ้างเพื่อสร้างน้ำเขียว
สำหรับระยะเวลาในการเพาะเลี้ยงกุ้งฝอยนั้น จากการศึกษาพบว่า การเลี้ยงกุ้งฝอย หากสามารถปล่อยพ่อแม่พันธุ์ได้ทุกเดือนที่พบว่ากุ้งฝอยมีไข่แก่ บริเวณช่องท้องและเมื่อกุ้งวางไข่แล้ว จะผสมพันธุ์ได้ต่อไป เมื่อลูกกุ้งเล็ก ๆ เลี้ยง 3-4 เดือน จะได้ลูกกุ้งโตเต็มวัยสามารถช้อนขายได้ หรือจะช้อนขายเมื่อเห็นว่ากุ้งในบ่อเลี้ยงมีจำนวนมาก เพราะหากกุ้งมีจำนวนมากเกินไปจะทำให้กุ้งไม่โตและกินกันเองระหว่างการลอก คราบ
นอกจากนี้ ระหว่างการเลี้ยงอาจมีการเพิ่มน้ำหากพบว่า น้ำในบ่อมีปริมาณลดลงไป หากน้ำมีจำนวนน้อยหรือตื้นเขินกุ้งจะโตช้าและอ่อนแอ

วิธีการเลี้ยงกุ้งฝอย เพื่อสร้างอาชีพให้เป็นรายได้เสริม ตอนที่1

วิธีการเลี้ยงกุ้งฝอย เพื่อสร้างอาชีพให้เป็นรายได้เสริม ตอนที่1



เมื่อปี2554 ตอนทำศุนย์เรียนรู้ใหม่ๆมีบ่อน้ำเล็กๆอยู่บ่อหนึ่งกว้างประมาณ 2เมตร ยาวประมาณ 6เมตร
เป็นบ่อพักน้ำเพื่อเอาน้ำไปใช้ปรากฎว่ามีกุ้งฝอยเกิดมากมายขายได้ตั้งหลายบาทเลยทำเป็นกิจลักษณะ

 



จับขายได้รุ่นละ5-10 กก ทำอยู่2ปีก็เลิกเพราะคต้องใช้พื้นที่ถมเพื่อขยายศูนย์เรียนรู้ปัจจุบันไม่ได้เลี้ยง
พอดีมีผู้สนใจอยากรู้เลยแชร์ข้อมูลมาฝากกันส่วนผมอาทิตย์นี้ให้เด็กลงกระชังจะลองเลี้ยงในกระผ้ามุ้งดูว่าจะดีแค่ไหน
ส่วนวันนี้ลองมาดูวิธีการเลี้ยงการเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อพลาสติคคุณจันทร์ ชัยภา ประธานศูนย์เรียนรู้เครือข่ายการเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ อ.สีคิ้ว ดูก่อนนะครับ

วิธีการทำ
1.เตรียมบ่อลึก 70 เซนติเมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 8 เมตร
2.ปูก้นบ่อด้วยพลาสติกสีดำ นำดินมาเทถมให้ทั่วก้นบ่อบนพลาสติกประมาณ 7-8 เซนติเมตร
3.เติมน้ำลงไปให้เต็มบ่อพอดี ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน
4.นำสาหร่าย ผักตบชะวา หญ้าขน นำมาทิ้งไว้ให้เป็นฟ่อนๆ ประมาณ 4-5 ฟ่อน
5.แล้วปล่อยกุ้งลงไปประมาณ 5 ขีด ช่วงปล่อยกุ้งลงไปไม่ต้องให้อาหารประมาณ 7 วัน เพื่อให้กุ้งปรับสภาพในบ่อ
สำหรับอาหารกุ้ง
1.ต้มไข่ให้สุก เอาเฉพาะไข่แดง 2 ฟอง
2.รำอ่อน 3 ขีด ผสมให้เข้ากัน ปั้นเท่ากำปั้น โยนลงไปในบ่อประมาณ 3 ก้อน
หลังจากให้อาหารประมาณ 1 เดือน กุ้งจะวางไข่ ให้สังเกตตอนกลางคืนโดยการนำไฟฉายมาส่องดุว่ากุ้งจะวางไข่หรือไม่

เทคนิคการเร่งกุ้งให้วางไข่ ให้นำสายยางน้ำประปามาเปิดลงในบ่อ โดยการเปิดแรงๆ ประมาณ 10-20 นาที
เพราะกุ้งชอบเล่นน้ำไหล แล้วจะดีดตัวทำให้ไข่ตกลงมา (ธรรมชาติน้ำนิ่งกุ้งไม่วางไข่)
ประมาณ 1-2 เดือน กุ้งก็จะโตเต็มที่ ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 4 เดือน จะได้กุ้งประมาณ 20-30 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 100-200 บาท

สูตรวิธีการช่วยดับกลิ่น ฆ่าเชื้อโรคในบ่อ และให้กุ้งโตเร็ว
1.EM 2 ช้อนแกง
2.กากน้ำตาล 2 ช้อนแกง
3.น้ำ 1 ลิตร
นำส่วนผสมมาหมักรวมกัน ตั้งทิ้งไว้ในที่ร่ม 1 อาทิตย์
อัตราส่วนในการใช้ อีเอ็ม 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ใส่บัวรดน้ำราดให้ทั่วบ่อ จะใช้หลังจากที่เติมน้ำลงไปก่อนปล่อยกุ้ง
จะช่วยดับกลิ่น ฆ่าเชื้อโรคในบ่อ กุ้งโตเร็ว

เลี้ยงกุ้งก้ามแดง กุ้งเศรษฐกิจตัวใหม่ที่ตลาดต้องการ

เลี้ยงกุ้งก้ามแดงเศรษฐกิจตัวใหม่ที่ตลาดต้องการ

กุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครฟิช มีถิ่นกำเนิดที่ ออสเตรเลีย ขนาดโตเต็มที่ 12 นิ้วอายุเฉลี่ย 4ปี ในธรรมชาติ ถ้าเลี้ยงใส่ตู้กระจก อยู่ได้ 2-3 ปี อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเลี้ยง 25-28 องศา ถือว่า อากาศและอุณหูภูมิในบ้านเรา กำลังดี
กุ้งก้ามแดงเป็นกุ้งชนิดแรกที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงทดลองเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร เพราะเป้นกุ้งที่มีการเจริญเติบโตค่อนข้างเร็วและมีขนาดใหญ่ ลักษณะเด่นคือ มีขนาดใหญ่และสีของกุ้งมีการเปลี่ยนแปลงตลอด แต่สีที่พบมากที่สุดคือ สีเขียว สีน้ำตาล และสีน้ำเงิน ซึ่งคนไทยจะเรียกว่า บลู ล็อปเตอร์ บางที่ก็เลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามแล้วนำจำหน่ายได้ในราคาสูง

กุ้งชนิดนี้มีจุดเด่นอีกอย่างคือ แถบข้างของก้ามจะมีสีแดง และ สีส้ม เป็น เอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งแถบสีเหล่านี้ จะพบกับกุ้งเพศผู้เท่านั้น ส่วนเพศเมียจะไม่มีแถบสี กุ้งชนิดนี้เลี้ยงง่าย ปรับตัวได้ไวและภูมต้านทานโรคสูง ปัจจุบันเกษตรนำมาเลี้ยงเป็นกุ้งเนื้อ และเป็นที่ต้องการของตลาด

การเริ่มต้นการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง แบบเลี้ยงเพื่อเศรษฐกิจ จะต้องทำอย่างไรบ้าง
1. การเตรียมน้ำ ต้องเตรียมน้ำ ยกตัวอย่างเลี้ยงในตู้ 24 นิ้ว ใส่น้ำประมาณ 50 ลิตร เติมเกลือแกงไปประมาณ 2-4 ช้อนโต๊ะ เปิด ออกซเจนทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมง ไม่ต้องใส่น้ำยาลดคลอรีน ก่อนนำกุ้งลงตู้ให้เอาถุงใส่กุ้งลอยน้ำทิ้งไว้ 15 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิให้กับกุ้ง
** กรณีเลี้ยงบ่อดิน บ่อผ้าใบพลาสติก ใส่น้ำความสูง 30-40 เซนติเมตร เติมเกลือ อัตราน้ำ 1000 ลิตร ต่อ 1 กิโลกรัม ปั๊มออกซิเจน หรือใบพัดปั่นน้ำ ในบ่อทิ้งไว้ 5-6 ชั่วโมง ค่อยนำกุ้งลง แล้วแต่ ขนาดของบ่อ **
 2.ปรับอุณหภูมิการเลี้ยงไว้ที่ 20-30 องศาเซลเซียส
3.สังเกตการลอกราบของกุ้ง ซึ่งช่วงเวลานี้กุ้งจะบอบบางและอ่อนแอมาก จะสังเกตอย่างไร แบ่งออกเป็นข้อๆได้ตามนี้ครับ
- ปริมาณการกินอาหารน้อยลง
- รอยต่อของลำตัวจะเปิด
- จับดูที่เปลือกหัวจะนุ่มนิ่มแสดงว่าใกล้ลอกคราบ
- แต่ถ้าห้วเปิดแล้วตัวยังแข็งอยู่แสดงว่ายังไม่ลอกคราบ อาจจะเกิดจากการที่กุ้งกินอาหารมากเกินไป ทำให้เปลือกบริเวฯรอยต่อยกขึ้นเหมือนลอกคราบ
4. การถ่ายน้ำในกรณีเลี้ยงตู้ควรถ่ายทุกๆ 7-10 วัน ** ส่วนบ่อดิน บ่อผ้าใบพลาสติก สูบน้ำเก่าออกเติมน้ำใหม่เข้า ทุก 2 สัปดาห์ ** ไม่ควรเปลี่ยนน้ำทิ้งทั้งหมด จะทำให้กุ้ง น็อคน้ำได้
5.อาหาร สำหรับกุ้งชนิดนี้กินได้ทั้งพืชและสัตว์และอาหารเม็ด ยกตัวอย่างอาหารของกุ้งก้ามใหญ่ เช่น สาหร่ายหางกระรอก แครอท และพืชน้ำอื่นๆ ประเภทเนื้อสัตว์จะเป็นพวก กุ้งฝอยต้ม เนื้อปลาตัวเล็กๆ *หนอนแดง กรณีเลี้ยงในตู้หรือ บ่อพลาสติก*
6.การเพาะพันธุ์ กุ้งก้ามใหญ่ จะเริ่มผสมพันธุ์ที่ขนาดประมาณ 3 นิ้วขึ้นไป ( ขึ้นอยู่กับความสมบูรณื และสายพันธุ์ ) หลังจากผสมแล้ว ตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมาใต้หาง และใช้เวลา 30 วันลูกจะเป็นตัวแล้วจะลงดิน อัตตราการผสม ตัวผู้ 1 ตัว ต่อ ตัว เมีย 3 ตัว

แนวทางการเลี้ยงแบบสวยงาม
กุ้งเครย์ฟิช สามารถนำมาเลี้ยงในตู้ปลาได้ แต่หากเลี้ยงรวมกันหลายตัว ควรจะเลี้ยงในตู้ปลาขนาดใหญ่ ที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว เพราะกุ้งเครย์ฟิช มีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว และหวงถิ่นที่อยู่ เมื่อมีเนื้อที่กว้างจะทำให้กุ้งแต่ละตัวสามารถสร้างอาณาเขตของตนเองได้ หากนำมาเลี้ยงรวมกันอย่างหนาแน่นจะพบว่า กุ้งเครย์ฟิช ขนาดเล็กมักถูกรังแกและมีโอกาสที่จะถูกกุ้งเครย์ฟิชที่มีขนาดใหญ่กว่ากิน เป็นอาหารได้ นอกจากนี้ ควรใส่ขอนไม้ กระถางต้นไม้แตกๆ หรือท่อ พีวีซี ตัดเป็นท่อนๆ เพื่อให้กุ้งเครย์ฟิชได้หลบอาศัยในเวลากลางวัน เพราะปกติช่วงกลางวันเป็นเวลาที่มันจะอยู่เงียบๆ แต่จะออกมาหาอาหารในเวลากลางคืนมากกว่า




สำหรับการตกแต่งตู้เลี้ยง กุ้งเครย์ฟิชนั้น หากชอบให้ตู้โล่งก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แต่ควรใส่ท่อพีวีซีลงไปด้วย เพื่อให้กุ้งได้ใช้ในการหลบซ่อนตัว แต่หากต้องการให้ตู้เลี้ยงมีความสวยงามก็สามารถใช้กรวดปูพื้นตู้ได้ แต่มักพบว่า กุ้งเครย์ฟิชมีนิสัยชอบขุดคุ้ยกรวดเพื่อสร้างเป็นที่กำบังในเวลากลางวัน จึงทำให้ไม่เป็นเหมือนครั้งแรกที่แต่งไว้ ทั้งนี้ จึงควรจะปูกรวดให้หนา ไม่ต่ำกว่า 5 เซนติเมตร เพื่อให้กุ้งเครย์ฟิชขุดกลบลำตัวได้ แต่ไม่ควรปูพื้นตู้ด้วยทราย เพราะมีความหนาแน่นสูง หากกุ้งเครย์ฟิชมุดลงไปแล้วอาจทำให้ขาดอากาศหายใจได้
ผู้เลี้ยงไม่จำเป็นที่จะต้องติดตั้งปั๊มออกซิเจนในตู้เลี้ยงก็สามารถทำได้หากเลี้ยงจำนวนน้อย แต่หากต้องการจะติดตั้งเครื่องปั๊มออกซิเจนก็ปล่อยอากาศให้น้ำกระเพื่อมเบาๆ ก็พอ ส่วนระบบกรองน้ำ ควรใช้ชนิดกรองบน กรองแขวน หรืออาจจะใช้กรองฟองน้ำที่เป็นตุ้มก็เพียงพอ แต่ไม่ควรใช้ชนิดกรองใต้ตู้ เพราะกุ้งเครย์ฟิชมักจะขุดกรวดขึ้นมา
อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมในการ เลี้ยงกุ้งเครย์ฟิช คือ ประมาณ 23-28 องศาเซลเซียส ค่าพีเอช ที่เหมาะสมคือ ประมาณ 7.5-10.5 แต่หากน้ำมีความกระด้างสูง ก็สามารถใส่เกลือลงไปในตู้ได้ เพื่อเป็นการปรับสภาพน้ำ นอกจากนี้ เกลือยังช่วยเสริมแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อการลอกคราบและสร้างเปลือกใหม่ ด้วย สำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ แต่ทีละน้อย เพื่อป้องกันอุณหภูมิเปลี่ยนฉับพลัน และน้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด
กุ้งเครย์ฟิช สามารถกินอาหารได้เกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก เศษเนื้อสัตว์ หรือให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปชนิดจมก็ได้ เพื่อความสะดวก แต่ไม่ควรให้อาหารบ่อย 2-3 วัน ให้ครั้งหนึ่งก็พอ และควรให้น้อยๆ แต่พอดี เพื่อป้องกันการตกค้างของอาหาร ซึ่งจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลต่อการเกิดโรคได้ และควรให้อาหารในเวลากลางคืน เพราะตามธรรมชาติ กุ้งเครย์ฟิชเป็นสัตว์ที่หาอาหารกินในเวลากลางคืน
สำหรับการเพาะพันธุ์กุ้งเครย์ฟิชนั้นไม่ยาก เพราะสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี และสามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย เพียงนำกุ้งเครย์ฟิชตัวผู้กับตัวเมียมาปล่อยรวมกัน แต่ต้องมั่นใจว่าเป็นตัวผู้กับตัวเมีย โดยสังเกตที่อวัยวะสืบพันธุ์ตรงช่วงขาเดิน กุ้งตัวผู้มีอวัยวะคล้ายตะขอบริเวณขาเดินคู่ที่สองและสาม ซึ่งตะขอนี้เอาไว้เกาะตัวเมียตอนผสมพันธุ์ ส่วนตัวเมียจะมีอวัยวะสืบพันธุ์เป็นแผ่นทรงวงรีบริเวณขาเดินคู่ที่ 3

กุ้งเครย์ฟิช ใช้เวลาผสมพันธุ์นานกว่า 10 นาที หลังจากนั้นสามารถย้ายกุ้งตัวเมียไปยังตู้อนุบาลได้ เพื่อเป็นการเตรียมที่อยู่สำหรับลูกกุ้ง หลังจากนั้น ตัวเมียจะทยอยผลิตไข่ขึ้นมาไว้บริเวณขาว่ายน้ำเป็นกระจุก มองคล้ายพวงองุ่น หลังจากที่ไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้วตัวเมียจะหาที่หลบซ่อนนอนนิ่งไม่ยอมกิน อะไร ระยะเวลาที่ตัวอ่อนใช้ในการพัฒนารูปร่างนั้นจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ปริมาณอาหาร และคุณภาพน้ำด้วย โดยเฉลี่ยไข่จะพัฒนาจนเป็นตัวอ่อนเหมือนโตเต็มวัยภายใน 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้น ลูกกุ้งจะถูกปล่อยให้ว่ายน้ำเป็นอิสระ ในการผสมพันธุ์แต่ละครั้งแม่กุ้งสามารถให้กุ้งได้มากถึง 300 ตัว ซึ่งพ่อแม่กุ้งไม่มีพฤติกรรมกินลูกกุ้งเป็นอาหาร และลูกกุ้งก็จะอยู่ไม่ห่างพ่อแม่นัก เพื่อคอยเก็บเศษอาหารที่เหลือจากพ่อแม่กินเป็นอาหารนั่นเอง
 
ตัวอ่อนของกุ้งเครย์ฟิช มีขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร โดยจะกินเศษอาหารก้นตู้เป็นหลัก สามารถให้ไส้เดือนฝอย ไรทะเล เป็นอาหารเสริมได้ แต่ควรระวังเรื่องคุณภาพน้ำด้วย อย่าปล่อยเศษอาหารเหลือทิ้งจนเน่าเสีย ซึ่งควรให้อาหารให้เพียงพอ เพราะตัวอ่อนจะมีพฤติกรรมกินกันเอง
ตู้อนุบาลตัวอ่อนควรมีพื้นที่ และวัสดุหลบซ่อน โดยเฉพาะกระถางต้นไม้ เพราะในช่วงเดือนแรก ลูกกุ้งจะลอกคราบบ่อย ทำให้ลำตัวอ่อนนิ่ม และมีเปอร์เซ็นต์ถูกกินเป็นอาหารมากขึ้น เมื่อลูกกุ้งมีอายุประมาณ 1 เดือน จะเริ่มมีสีสันเหมือนตัวโตเต็มวัย
การลอกคราบเป็นขั้นตอนที่สำคัญใน การเจริญเติบโตของกุ้งเครย์ฟิช เพราะแสดงถึงขนาดลำตัวที่โตมากขึ้น ซึ่งลูกกุ้งจะลอกคราบเดือนละครั้ง โดยมีระยะห่างในการลอกคราบแต่ละครั้งจะยาวนานขึ้นเมื่อกุ้งเจริญเติบโตขึ้น และเมื่อกุ้งเครย์ฟิชโตเต็มที่จะลอกคราบเพียงปีละครั้งเท่านั้น ในการลอกคราบแต่ละครั้ง กุ้งเครย์ฟิชจะมีลำตัวนิ่มและอ่อนแอมาก จึงต้องหาที่ปลอดภัยสำหรับหลบซ่อนและค่อนข้างอยู่นิ่งๆ ประมาณ 2-3 วัน จนกว่าเปลือกจะแข็งเป็นปกติ


 อย่างไรก็ตาม หากเห็นว่ากุ้งเครย์ฟิชกำลังลอกคราบ ไม่ควรรบกวน เพราะอาจทำลายความต่อเนื่องของกระบวนการลอกคราบได้ หากกุ้งเครย์ฟิชตกใจอาจทำให้การลอกคราบไม่สมบูรณ์เต็มที่ โดยชิ้นส่วนของเปลือกชุดเก่ายังติดอยู่บริเวณก้าม ในขณะที่เปลือกชุดใหม่เริ่มแข็งตัว อาจทำให้เกิดความผิดปกติได้ อาทิ มีเปลือกสองชั้นทับกัน หรือก้ามบิดเบี้ยวผิดรูปได้